ข่าวประชาสัมพันธ์ <ดูทั้งหมด>

รายงานสถานการณ์ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2566


รายงานสถานการณ์ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2566
ลักษณะอากาศทั่วไป :  พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงในระยะนี้ สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง  อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “โคอินุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. 66 ซึ่งจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและพายุดีเปสชันตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย      
                                           
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล :  มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส  ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (07.00 น.) : พื้นที่กรุงเทพมหานครมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ปริมาณฝนสูงสุด จุดวัดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เขตสายไหม 24.5 มม.  จุดวัดประตูระบายน้ำคลองหลวงแพ่ง เขตหนองจอก  24.5 มม.  จุดวัดคลองประเวศสถานีคลองประเวศฯ-ถนนร่วมพัฒนา เขตลาดกระบัง  22.5 มม.  จุดวัดสถานีสูบน้ำคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง  18.5 มม.  จุดวัดบึงหนองบอน เขตประเวศ  18.0 มม.  จุดวัดสำนักงานเขตบางนา  12.0 มม.

ไม่มีรายงานจุดเร่งการระบายน้ำในถนนสายหลัก 

รายงานค่าระดับน้ำแนวคันกั้นน้ำด้านตะวันออกวันนี้ ( 7 ตุลาคม 2566 )
- ประตูระบายน้ำคลองสอง (สายใต้) (ระดับวิกฤติ +1.80) เวลา 07.00 น. ระดับ +1.45 ม.รทก. ระดับน้ำปกติ
- ประตูระบายน้ำแสนแสบ (มีนบุรี) (ระดับวิกฤติ +0.90) เวลา 07.00 น. ระดับ +0.70 ม.รทก. ระดับน้ำปกติ (ระดับน้ำเตือนภัย)
- ประตูระบายน้ำลาดกระบัง (ระดับวิกฤติ +0.60) เวลา 07.00 น. ระดับ +0.38 ม.รทก. ระดับน้ำปกติ

ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงสุดวานนี้ ( 6 ตุลาคม 2566 )
- สถานีสูบน้ำบางนา ระดับ +1.50 ม.รทก. เวลา 13:00 น.
- ประตูระบายน้ำปากคลองตลาด ระดับ +1.45 ม.รทก. เวลา 13:00 น.
- สถานีสูบน้ำบางเขนใหม่ ระดับ +1.48 ม.รทก. เวลา 14.00 น.

ฐานน้ำขึ้นสูงสุดแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าสถานีกองบัญชาการกองทัพเรือวันนี้( 7 ตุลาคม 2566 )
( เช้า ระดับ ......... ม.รทก. เวลา ......... น. บ่าย ระดับ +1.08 ม.รทก. เวลา 19:22 น.)

ปริมาณน้ำผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้ ( 7 ตุลาคม 2566 )
นครสวรรค์ 1,820 ลบ.ม./วินาที
เขื่อนเจ้าพระยา 1,479 ลบ.ม./วินาที
เขื่อนพระรามหก - ลบ.ม./วินาที
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (เฉลี่ย 1,562 ลบ.ม./วินาที)

รายงานความเค็มสูงสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 6 ตุลาคม 2566 (ค่าความเค็มเกิน 1.2 กรัม/ ลิตร ควรระมัดระวังในการใช้กับพืชทั่วไป)
1. ส.แจงร้อน 0.2 กรัม/ลิตร เวลา 13:00 น.
2. ส.ดาวคะนอง 0.2 กรัม/ลิตร เวลา 13:00 น.
3. ส.บางกอกใหญ่ 0.2 กรัม/ลิตร เวลา 08:00 น.
4. ส.เทเวศร์ 0.1 กรัม/ลิตร เวลา 08:00 น.
5. ส.บางเขนใหม่ 0.2 กรัม/ลิตร เวลา 14.00 น.




ปรับปรุงวันที่ : 07 ตุลาคม 2566